วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

หมู่บ้านงูจงอาง

จังหวัดขอนแก่น (Khonkaen)
หมู่บ้านงูจงอาง
บ้านโคกสง่า อำเภอน้ำพอง
-
ประวัติบ้านโคกสง่า และการเล่นงูจงอาง
       หมู่ บ้านโคกสง่า ก่อตั้งเมื่อประมาณ 100 กว่าปีที่ผ่านมา เริ่มมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกในปี พ.ศ.2469 มีลูกบ้านประมาณ 800 คน (พ.ศ.2541) ชาวบ้านมีอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่

       การเดินทางหมู่ บ้านโคกสง่าหรือหมู่บ้านงูจงอาง ตั้งอยู่ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 50 กิโลเมตร จากเมืองขอนแก่น ใช้เส้นทาง ถนนมิตรภาพ (เส้นทางหมายเลข 2 สายขอนแก่น-อุดรธานี) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 33 เลี้ยวขวาทางไปอำเภอกระนวน ถนนหมายเลข 2039 (น้ำพอง-กระนวน) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 (ระยะทาง 14 กม.) สังเกตเห็นป้อมตำรวจพังทุยอยู่ด้านซ้ายมือ ด้านขวามือจะมองเห็นป้ายหมู่บ้านงูจงอางเลี้ยวขวาไปตามถนนเข้าไปประมาณ 1.2 กม. ผ่านวัดสระแก้ว บ้านนางาม ถัดจากวัดจะเป็นสี่แยก ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน เลี้ยวซ้ายไป 600 เมตร ถึงบ้านโคกสง่าตรงไปที่วัดศรีธรรมา ซึ่งเป็นที่ตั้งเรือนเพาะพันธุ์งูจงอาง และสถานที่จัดแสดงงูจงอาง
การเล่นงูของชาวบ้านโคกสง่าเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2494 โดย พ่อใหญ่เคน ยงลา ประกอบอาชีพหมอยา เดินทางไปขายยาสมุนไพรตามหมู่บ้านต่างๆ ต่อมาผู้ใหญ่เคน ได้คิดริเริ่มจับงูเห่ามาแสดงเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้คนมารวมกัน การแสดงครั้งนั้นประสบความสำเร็จมาก ทำให้ไม่ต้องเดินขายยาทุกหลังคาเรือนเช่นเดิมอีก แต่เนื่องจาก งูเห่าสามารถพ่นพิษใส่ตาผู้แสดงได้ ในระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้แสดงหรือผู้ชมได้ พ่อใหญ่จึงเปลี่ยนมาใช้งูจงอางแทน และได้ถ่ายทอดวิชาให้กับเพื่อนๆ ตลอดจนลูกหลานในหมู่บ้าน ซึ่งก็ได้เดินทางเร่แสดงงูขายสมุนไพร เพื่อเป็นอาชีพเสริมหารายได้นอกเหนือ จากอาชีพเกษตรกรรม ตามอย่างผู้ใหญ่เคน ทำให้ชื่อเสียงการเล่นงูของหมู่บ้านโคกสง่าแพร่ขยายออกไป การ แสดงงูจงอางบ้านโคกสง่าเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก ชาวบ้านโคกสง่าเกือบทุกหลังคาเรือนจะเลี้ยงงูจงอางไว้ใต้ถุนบ้านของตน ได้จัดการแสดงงูจงอาง หลายรูปแบบเพื่อดึงดูดให้คนสนใจยิ่งขึ้น เช่น การชกมวยระหว่างคนกับงูจงอาง ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง จนชาวบ้านที่มีชื่อเสียงทางการแสดงงูมีฉายาประจำ เช่น
 
นายทองคำ  ลูกทองชัย
นายหนู   เหล่าทา  วัย 56 ปี
นายเก้าแสน  เก้าพะยัก  คนนี้ถูกงูกัดมากกว่า 40 ครั้ง
รวมถึงชาวบ้านอีกหลายคนอาทิ กระหร่องน้อย  เมืองอีสาน, บัวลี  ขวัญใจโคกสง่า, ก้อมชัย  ขวัญใจโคกสง่า,  เดินดี  ลูกไก่นา เป็นต้น
-
งานวันงูจงอาง จัดขึ้นที่หมู่บ้านโคกสง่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มีกิจกรรมการจัดงานระหว่างวันที่ 12-16 เมษายน ของทุกๆ ปี เช่น การเจริญพระพุทธมนต์ การสรงน้ำพระ ขบวนแห่พระพุทธรูป แห่สงกรานต์ แห่งูจงอางไปตามถนนรอบหมู่บ้านสิ้นสุดที่เวทีแสดงวัดศรีธรรมา มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ ประกวดธิดางูจงอาง การแสดงศิลปะการต่อสู้ระหว่าง คนกับงูจงอาง ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบปี เนื่องจากชาวบ้านโคกสง่าทุกคน ที่ออกจากหมู่บ้านไปแสดงงู เร่ขายสมุนไพรต่างพร้อมใจกัน กลับมาแสดงร่วมกันในวันสงกรานต์ มีการสาธิตว่านและยาสมุนไพรชนิดต่างๆ พร้อมจำหน่ายโดนกลุ่มชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีการแสดงมหรสพอื่นๆ เช่น หมดลำซิ่ง ภาพยนตร์ เป็นการแสดงรื่นเริง ให้ชาวบ้านใกล้เคียงมาร่วมสนุกด้วย
การเข้าชมและกิจกรรมการแสดง นอกจากเทศกาลสงกรานต์แล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางมาทัศนศึกษาที่ หมู่บ้านงูจงอางได้ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ และวันนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. เมื่อเดินทางไปถึงหมู่บ้านงูจงอาง จะเห็นวิถีชีวิตชาวบ้านโคกสง่า ซึ่งมีอาชีพหลักคือการเกษตรกรรม มีการทอผ้าไหมเหมือนชาวอีสานทั่วไป แต่สิ่งที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง ก็คือชาวบ้านแห่งนี้เลี้ยงงูจงอางไว้ในกล่องไม้ใต้ถุนบ้าน เกือบทุกหลังคาเรือน ที่วัดศรีธรรมาท่านสามารถศึกษา ชมนิทรรศการงูและชีวิตความเป็นอยู่ ของงูจงอางในโรงเรือนเพาะพันธุ์งูจงอางได้ทุกวัน ในกรณีที่เดินทางมาเป็นกลุ่มเล็กๆ หากต้องการชมการแสดง ชมรมงูจงอางได้จัดเจ้าหน้าที่ และนักแสดงประจำเวที สามารถจัดการแสดงให้ชมได้ตามต้องการ โดยแจ้งชาวบ้านให้จัดแสดง โดยตกลงราคาแต่ละรายไป หากเดินทางไปเป็นคณะใหญ่ๆ สามารถแจ้งล่วงหน้าได้ที่
-
นายทา    บุตตา   
ประธานชมรมงูจงอางบ้านโคกสง่า
เลขที่ 96 หมู่ 6 ต.ทรายมูล อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น 40140  โทร. 081-974-9499, 043-924070
นายศิริศักดิ์    น้อยเล็ก  รองประธานชมรมงูจงอางบ้านโคกสง่า โทร. 086-219-0428
-
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงูจงอาง งูทั่วไปมีทั้งหมดกว่า 2,500 ชนิด (Species) พบทั่วไปในประเทศไทยที่มีอากาศร้อน ยิ่งพบมากเมื่อเข้าใกล้เส้นศูนย์สูตร งูพิษแทบทุกชนิดจัดอยู่ในวงศ์ Elapidae รวมทั้งงูจงอางด้วย
       งูจงอางมีชื่อสามัญว่า King Cobra มี ความยาวเฉลี่ย 3.7 เมตร อาจยาวถึง 5.5 เมตร มีลูกตาสีน้ำตาลอำพัน ลำตัวสีเขียวอมเทา หรือน้ำตาล มีลายปล้องสีเหลืองคาดทั่วไป ตัวผู้มีลำตัวยาวกว่าตัวเมีย เมื่อถูกรบกวนจะชูคอยกตัวสูงประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว และขยายแผงคอออก ที่เรียกกันว่า แผ่แม่เบี้ย มีนิสัยว่องไว ไม่ชอบความร้อน โดยเฉพาะความร้อนโดยตรงจากแสงอาทิตย์ ชอบนอนตามที่เย็นๆ เช่นกอไผ่ โพลงไม้ ซอกหิน พบชุกชุมตามป่าเกือบทุกภาคในประเทศไทย ยังพบทั่วไปในประเทศฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, พม่า, อินเดีย, และจีนตอนใต้ ไม่สามารถพบได้ในอเมริกา หรือยุโรป
       งู กลืนอาหารชิ้นใหญ่ๆ ได้เนื่องจากกระดูกกราม และกะโหลกยึดติดกันด้วยเอ็น จึงเคลื่อนและยึดขยายออกได้ งูจงอางเป็นงูพิษ มีเขี้ยวแข็ง เขี้ยวจะยึดติดกับเหงือกแน่นไม่สามารถหดหรือพับได้
แตก ต่างจากงูที่มีเขี้ยวอ่อนสามารถเก็บเขี้ยวไว้ใต้เพดานปากได้ เช่น งูหางกระดิ่ง ปกติงูจงอางไม่ใช่งูที่ดุร้าย แต่มีพิษที่รุนแรงต่อระบบประสาท ซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่น เมื่องูจงอางฉกกัดเหยื่อจะฉกแรง บางครั้งเขี้ยวมักจะหลุดติดออกไปด้วย เขี้ยวพิษจะงอกใหม่ได้เป็นระยะๆ ปกติจะงอกออกมาก่อนเขี้ยวเก่าจะหลุด บางเวลาจึงเห็นงูมีเขี้ยวข้างละ 2 เขี้ยวได้ งูจงอางสามารถฉกกัดในระยะห่างไม่เกิน 18 เมตร เมื่อฉกกัดต้องกัดค้างไว้ แล้วจึงปล่อยพิษจากต่อมพิษ 2 ต่อมบริเวณหลังดวงตา ไม่สามารถพ่นพิษได้เหมือนงูเห่า
       งูทุกชนิดกินสัตว์ด้วย กัน งูใหญ่จะกินสัตว์จำพวกแมลง กบ หนู มีงูบางชนิดที่กินงูด้วยกัน คือ งูจงอาง ดังนั้นงูจงอางจึงมีส่วนสำคัญในการรักษาระบบนิเวศ สร้างความสมดุลแก่ธรรมชาติโดยเฉพาะการควบคุมปริมาณสัตว์ในธรรมชาติไม่ให้มี มากเกินไป งูจึงเป็นสัตว์สำคัญยิ่งต่อความยั่งยืนของธรรมชาติ
      งูมีสายตาที่พัฒนาดีมาก มีความฉลาดอยู่ระหว่างปลากับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ไม่สามารถเปล่งเสียงแท้จริง แต่ทำเสียง ฟ่อได้ ดัง ทั้งนี้เป็นการขู่ศัตรู งูเป็นสัตว์หูหนวก ไม่ได้ยินเสียงขู่ฟ่อของกันและกัน รับรู้ด้วยการสั่นสะเทือนที่มากระทบตัวจากพื้น ลิ้นงูแลบออกมารับกลิ่น และเคลื่อนเหยื่อไปตามเพดานปาก
       โดยทั่วไป งูจงอางมีการผสมพันธุ์เป็นฤดูกาล โดยจะสืบพันธุ์ในฤดูฝน หรือช่วงฝนตกชุกระหว่างเปลี่ยนฤดู การผสมพันธุ์จะใช้เวลานาน 1 - 2 ชั่วโมง บางครั้งอาจสั้นไม่ถึงชั่วโมงได้ งูที่ขังรวมกันในสวนสัตว์จะพบการผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง จะมีการวางไข่ประมาณ 1-2 เดือน หลังการผสมพันธุ์
       งู จงอางเป็นงูชนิดเดียวที่สร้างรังไข่ ทำรังลึกลงในดิน 4-5 เซนติเมตร ใช้ใบไม้และเศษดินในการทำรัง อุณหภูมิเหมาะสมต่อไข่ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสูง 95% หลังจากการวางไข่ งูจงอางจะเฝ้าไข่ แต่ไม่กกไข่ (งูหลามจะกกไข่) จะวางไข่ครั้งละ 5-50 ฟอง หรือโดยเฉลี่ยครั้งละ 30 ฟอง ขนาดไข่งูจงอางอยู่ที่ 5x3 ซม. ถึง 6x4 ซม. ไข่เป็นรูปรี เปลือกไข่จะเป็นหนังนิ่ม และขยายขนาดขึ้นได้ ตามการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ไข่ใช่เวลาฟักนาน 60-120 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และความชื้นขณะฟัก ลูกงูจะเจาะไข่ออกมาด้วยฟันซี่พิเศษเรียก “egg tooth” ฟัน ซี่นี้จะหลุดไปในไม่ช้าหลังจากงูออกมาจากไข่แล้ว ลูกงูมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ตั้งแต่แรกเกิด มีความยาว 35 ซม. ปราดเปรียว ว่องไว มีพิษพอที่จะกัดเหยื่อ และคนให้ตายได้ ช่วยเหลือตัวเอง โดยหาอาหารกินเองได้ทันที สามารถแผ่แม่เบี้ยได้อย่างสวยงาม สีสันลำตัวคาดปล้องด้วยสีเหลืองสดใส สะดุดตาแลดูแล้วเป็นที่น่าสนใจ งูจงอางจะจำศีลในช่วงฤดูหนาว หรือร้อนจัด งูจะเติบโตโดยอาศัยการลอกคราบ ถ้าอาหารสมบูรณ์จะลอกคราบทุก 30 วัน เพียงระยะเวลา 1-5 ปี งูสามารถโตได้เต็มที่ งูมีอายุยืนประมาณ 30 กว่าปี
การเลี้ยงงูจงอางที่บ้านโคกสง่า การเลี้ยงงูจงอางที่บ้านโคกสง่า เป็นการเลี้ยงงูเยี่ยงสัตว์เลี้ยง งูบางตัวได้รับการเลี้ยงมาเป็นเวลาถึง 15 ปี ชาวบ้านจะซื้องูมาในราคา 3,000-10,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของงู นำมาเลี้ยงในลังไม้ที่มีน้ำและความชื้นอยู่ ลังจะมีขนาดกว้าง 50 ซม. ยาว 80 ซม. สูง 20 ซม. จะเก็บไว้ใต้ถุนบ้านหรือตามยุ้งฉาง มีการให้อาหาร 3-4 วันต่อครั้ง อาหารมักจะเป็นงูขนาดเล็ก เช่น งูปลา งูสิง งูดิน งูดั้งแห หรือ กบ เขียด ถ้าให้อาหารเพียงพองูจะลอกคราบประมาณเดือนละครั้ง เมื่อเลี้ยงได้สักพัก งูจะเริ่มเชื่อง สามารถจับมาแสดงได้ ทั้งนี้ยังคงต้องระมัดระวัง เนื่องจากงูยังมีพิษและฉกกัดได้ตลอดเวลา ผู้แสดงต้องใช้ความสามารถและความชำนาญเป็นพิเศษ ทำให้การแสดงเป็นที่น่าตื่นเต้น
ต้นว่านพญาจงอาง

            ระบบ การเลี้ยงงูเป็นไปในลักษณะเจ้าของงู ต่างคนต่างเลี้ยงไว้ในกระบะที่บ้านของตน เมื่อจะไปเร่ขายยาสมุนไพรที่ใด ก็หิ้วลังกระบะใส่งูไปด้วย งูส่วนใหญ่ผ่านไปในหลายจังหวัดกับเจ้าของเมื่อเจ้าของนำออกมาจากลังกระบะ งูจะเลี้ยงออกมา และแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติของมัน เช่น การชูหัวแผ่แม่เบี้ย เพื่อป้องกันตัว และข่มขู่เมื่อถูกล่อ มิใช่การแสดงละเล่น ที่เจ้าของฝึกฝนให้แสดงตามใจ ได้เหมือนการแสดงของช้างหรือลิง แต่การแสดงหยอกล่อและยั่วยุกับงู ตามที่ชาวบ้านโคกสง่า เรียกว่าการชกมวยกับงูนั้น เป็นสิ่งน่าสนใจและตื่นเต้น เนื่องจากความน่าเกรงขามและความดุร้ายของงูจงอาง ซึ่งนักเร่ขายยาสมุนไพรของบ้านนี้ ก็มีใจหาญกล้าพอที่จะเสี่ยงชีวิตท้าทาย กับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาทีของการแสดง
       การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)ร่วมกับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย และชมรมงูจงอางแห่งประเทศไทย (ก่อตั้งโดยกลุ่มชาวบ้านโคกสง่า)ร่วมกันจัดโครงการขยายพันธุ์งูจงอาง เพื่อการอนุรักษ์พันธุ์งูจงอาง รวมถึงการเลี้ยงงูให้ใกล้ธรรมชาติ จึงได้มีการสร้างโรงเพาะพันธุ์งูจงอางขึ้น บริเวณวัดศรีธรรมา อันเป็นวัดประจำหมู่บ้านโคกสง่า เสร็จในปี พ.ศ.2539 ทำให้งูจงอางได้อยู่ใกล้ธรรมชาติ มากขึ้น ในปี พ.ศ.2540 แม่งูจงอางบ้านโคกสง่า 3 ตัวที่ได้รับการผสมพันธุ์ได้วางไข่ในโรงเพาะเลี้ยง ต่อมาได้ฟักลูกงูจงอางถึง 13 ตัว โดยได้รับความร่วมมือและดูแลอย่างใกล้ชิด จากนายสัตวแพทย์สมโภชน์ วีระกุล อาจารย์ประจำคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้นำไข่บางส่วนที่ยังไม่ฟัก แต่มีเปอร์เซ็นต์ การเสียมากไปไว้ในตู้ฟักปรับอุณหภูมิที่เหมาะสม ในห้องทดลองปรากฏว่าสามารถฟักได้เป็นตัวทั้งหมด กล่าวได้ว่าประเทศไทย มีการฟักไข่งูจงอางในห้องทดลองได้เป็นครั้งแรกของโลก เนื่องจากสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับยังไม่มีนักวิชาการศึกษาเรื่องเลี้ยงลูกงูจงอาง รวมถึงปัญหาในการให้อาหารลูกงูจงอาง จึงทำให้ลูกงูจงอางไม่สามารถรอดชีวิตได้ ดังนั้นจึงยังคงเป็นภารกิจสำคัญ ของผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่จะต้องศึกษา หาวิธีการเลี้ยงลูกงูจงอาง ให้สามารถเจริญเติบโตจนถึงวัยเจริญพันธุ์ต่อไป หากโครงการนำร่องนี้ประสบผลสำเร็จ มีปริมาณงูเพิ่มขึ้นได้จาการเพาะพันธุ์แล้ว ส่วนหนึ่งจะปล่อยคืนธรรมชาติ เพื่อสร้างระบบนิเวศ และอนาคตคงจะไม่มีการจับงูจากธรรมชาติ มาเลี้ยงในหมู่บ้านอีก แต่ชาวบ้านยังคงมีรายได้ จากการแสดงงู รวมถึงการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับงูจงอาง สำหรับประชาชน และนักท่องเที่ยวทั่วไป
-
แผนที่แสดงเส้นทางไปหมู่บ้านงูจงอาง ( บ้านโคกสง่า )